ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Maize - Indian Corn, Maize [1]
- Maize - Indian Corn, Maize [1]
Zea mays L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Poaceae (Rutaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Zea mays L.
 
  ชื่อไทย ข้าวโพด
 
  ชื่อท้องถิ่น - เป๊ากื่อ(ม้ง), แผละลี(ลั้วะ) - ข้าวสาลี, สาลี (ภาคเหนือ), โพด (ภาคใต้), บือเคส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ข้าวแข่ (เงี้ยว-ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เง็กบี้, เง็กจกซู่ (จีน) [1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ลักษณะทั่วไป ต้น ข้าวโพดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันสามารถนำไปปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ลำต้นนั้นอวบตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามมีลักษณะคล้ายฟองน้ำมีความสูงประมาณ 1.4 เมตร
ใบ จะเป็นเส้นตรงปลายของมันแหลมยาวประมาณ 30-100 ซม. กว้างประมาณ 2-10 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัดตรงขอบใบจะมีขนอ่อนๆ สีขาว
ดอก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious) ช่อดอกตัวผู้ที่อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียจะอยู่ต่ำถัดลงมาออกระหว่างกาบของใบและลำต้น ดอกย่อยจะมีก้านเกสรตัวผู้ 9-10 อัน และมีอับเรณูสีเหลือส้ม ยาวราว 5 มม. ยอดเกสรตัวเมียจะเป็นเส้นบางๆ คล้ายกับเส้นไหมยาวและยื่นพันออกมาเป็นจำนวนมาก
ฝัก เกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ข้าวโพดต้นหนึ่งอาจให้ฝักมากกว่าหนึ่งฝักก็ได้ ฝักข้าวโพดหุ้มด้วยกาบางหลายชั้น ฝักอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีนวล เราเรียกว่า เปลือกข้าวโพด ฝักข้าวโพดจะประกอบไปด้วยซังข้าวโพด (cob) ซึ่งเป็นที่สำหรับให้ผลที่เราเรียกว่าเม็ดเกาะ
ผล จะเป็นทรงกระบอกยาว ในฝัก 1 ฝัก มีเม็ดเกาะอยู่ประมาณ 8 แถว แถวหึ่งๆ จะมีเม็ดประมาณ 30 เม็ด และมีสีต่างๆ กันเช่นสีนวล เหลือง หรือม่วงดำ [1]
 
  ใบ ใบ จะเป็นเส้นตรงปลายของมันแหลมยาวประมาณ 30-100 ซม. กว้างประมาณ 2-10 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัดตรงขอบใบจะมีขนอ่อนๆ สีขาว
 
  ดอก ดอก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious) ช่อดอกตัวผู้ที่อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียจะอยู่ต่ำถัดลงมาออกระหว่างกาบของใบและลำต้น ดอกย่อยจะมีก้านเกสรตัวผู้ 9-10 อัน และมีอับเรณูสีเหลือส้ม ยาวราว 5 มม. ยอดเกสรตัวเมียจะเป็นเส้นบางๆ คล้ายกับเส้นไหมยาวและยื่นพันออกมาเป็นจำนวนมาก
 
  ผล ผล จะเป็นทรงกระบอกยาว ในฝัก 1 ฝัก มีเม็ดเกาะอยู่ประมาณ 8 แถว แถวหึ่งๆ จะมีเม็ดประมาณ 30 เม็ด และมีสีต่างๆ กันเช่นสีนวล เหลือง หรือม่วงดำ [1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ซังข้าวโพด เป็นเชื้อเพลิงจุดไฟหรือใช้เผาเป็นถ่าน(ม้ง)
ปลูกขายเป็นพืชเศรษฐกิจ(ลั้วะ)
- ผล ใช้ทำแป้งข้าวโพดเมื่อเปียกจะเป็นอาหารที่ดีสำหรับคนฟื้นไข้ เนื่องจากเป็นแป้งที่ย่อยง่าย ฝอยข้าวโพดเป็นยาขับปัสสาวะ และทำให้เยื่อบุภายในชุ่มชื้น เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง ใช้แก้ขัดเบาในผู้ที่เป็นโรคหนองใน น้ำมันใช้ประกอบอาหาร เป็นตัวทำละลายของ ergosterol [7]
- เมล็ด ใช้ต้มกินหรือจะบดเป็นแป้งเอามาทำขนมกัน ใช้บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด ทำให้เจริญอาหาร มีรสชุ่ม ไม่มีพิษ สามารถใช้ต้มรับประทานมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และใช้พอกแผลเพื่อทำให้เยื่ออ่อนนุ่มไม่ให้เกิดอาการระคายเคือง
ซัง ใช้ที่แห้งแล้วประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือเอามาเผาเป็นถ่านผสมกับน้ำกิน มีรสชุ่ม บำรุงม้าม ขับปัสสาวะ รักษาบวมน้ำ รักษาบิดและท้องร่วง ใช้ภายนอกเผาเป็นเถาบด ผสมใช้น้ำทา
ต้นและใบ ใช้จำนวนพอสมควรจะใช้สดหรือแห้ง นำมาต้มน้ำกิน รักษาโรคนิ่ว
ยอดเกสรตัวเมีย (ไหมข้าวโพด) ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือเผาเป็นเถา บด ผสมกิน หรือใช้ภายนอก ใช้สูบหรือรมควัน มีรสชุ่ม ช่วยขับปัสสาวะขับน้ำดี บำรุงตับ รักษาตับอักเสบเป็นดีซ่าน ไตอักเสบบวมน้ำ ความดันเลือดสูง นิ่วในถุงน้ำดี อาเจียนเป็นเลือด เบาหวาน โพรงจมูกอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฝีหลายหัวที่เต้านม เลือดกำเดาอักเสบ
ราก ใช้แห้งประมาณ 60-120 กรัม นำมาต้มน้ำกิน รักษานิ่ว และอาเจียนเป็นเลือด สามารถขับปัสสาวะได้
แป้ง แป้งข้าวโพดเปียกใช้เป็นอาหารที่ดีสำหรับบุคคลที่ฟื้นจากการเป็นไข้ แป้งข้าวโพดเป็นแป้งย่อยง่าย เชื่อกันว่าขนมปังที่ทำจากแป้งข้าวโพดมีคุณค่าทางอาหารากกว่าขนมปังที่ทำมาจากแป้งสาลี สมควรใช้กับบุคคลที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับและไต
น้ำมัน ประกอบด้วยกรดไขมันคือ กรดโอเลอิค (oleic) ร้อยละ 37, กรดลิโนเลอิค (linoleic) ร้อยละ 50, กรดปาร์มิติค (palmitic) ร้อยละ 10 และกรดสเตียริค (stearic) ร้อยละ 3 น้ำมันข้าวโพดสามารถนำมาประกอบอาหาร ใช้เป็นตัวทำละลายของสาร ergosterol เอามาเติมไฮโดรเจน (Hydrogeneted) น้ำมันจะแข็งขึ้นนำมาทำเป็นเนยเทียมใช้ทำขนมเค๊กตามที่ต้องการให้เป็นมัน [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง